logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • สะเต็มศึกษา
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 3 : เมกเกอร์สเปซเพื่อการศึกษา

สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 3 : เมกเกอร์สเปซเพื่อการศึกษา

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันศุกร์, 14 กันยายน 2561
Hits
18547

          มาต่อกับเรื่องราวของ maker ที่ต่อจากบทความครั้งที่แล้ว เราก็ได้รู้จักกับ maker กันมาในระดับหนึ่ง สู่ปรากฏการณ์สำคัญที่เรียกว่า  "Maker Movement"  มาถึงตอนนี้ เป็นตอนที่เราจะพาไปรู้จักคำว่า "Makerspace (เมกเกอร์สเปซ) " ที่ที่เราจะได้รู้ว่าการที่พวกเขาได้มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน หรือแหล่งที่พวกเขารวมตัวกันเป็นส่วนใหญ่คือที่ไหนเป็นอย่างไรบ้าง

8405 1

ภาพนิทรรศการจำลอง makerspace งานมหกกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2560
ที่มา ณัฐดนัย เนียมทอง

         makerspace เป็นสถานที่ที่ maker ส่วนใหญ่มักใช้เป็นสถานที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพราะเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือสำคัญ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือช่าง อีกทั้งยังเป็นแหล่งความรู้ครบครัน เป็นสถานที่อีกที่หนึ่งสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของชาว maker

         นักการศึกษาพยายามเสนอแนะให้นำ makerspace เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา ประยุกต์เป็น “เมกเกอร์สเปซเพื่อการศึกษา” เพื่อมุ่งหวังการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (learning by doing) และแนวคิดการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) ด้วยเหตุผลที่มองว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการลงมือทำสิ่งที่จับต้องได้ สัมพันธ์กับโลกความเป็นจริง และทำงานร่วมกับผู้อื่น ประการสำคัญคือการเรียนรู้ต้องเกิดจากการริเริ่มของนักเรียน ไม่ใช่ของครู ที่ผ่านมาเราพบว่าในต่างประเทศมีการนำแนวทางการดำเนินงานแบบ makerspace มาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน  โดยสร้างพื้นที่ในบริเวณห้องสมุดเพื่อทำเป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เต็มรูปแบบ โดยออกแบบพื้นที่ห้องให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถ และแรงบันดาลใจของนักเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรในโรงเรียนเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการออกแบบ มีการทำรายการและจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ในพื้นที่แห่งนี้ ต่อเนื่องมาถึงการใช้พื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงงานสะเต็ม (STEM) ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับประเทศไทย  เราทราบกันดีว่ามีการสร้างศูนย์สะเต็มศึกษาภายในโรงเรียนกันอยู่บ้าง หากกลับไปมองดูหน่อยว่าพื้นที่ที่ท่านมีอยู่ในตอนนี้ มีอะไรและมีใครทำอะไรอยู่บ้าง คงเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งหากเราจะต่อยอดแนวทางของ makerspace ในโรงเรียนบนพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ของสะเต็ม

          อย่างไรก็ตามจากข้อมูลข้างต้นก็พบว่า การจัดสร้างพื้นที่แบบ makerspace ในโรงเรียนในต่างประเทศ ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะพบว่านักเรียนเองยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับรูปแบบนี้เท่าไรนัก และยังรอการมอบหมายจากครูให้เป็นผู้ชี้นำ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนถดถอยลง ในทางตรงกันข้ามสิ่งที่ควรทำคือการถอยออกมาและคอยสังเกตการณ์อยู่ห่าง ๆ ให้พวกเขาได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

         ถึงตอนนี้ อยากให้คุณครูทุกท่านลองเปรียบตัวเองเสมือนนักเรียนคนหนึ่งซึ่งกำลังฝึกฝนเป็น maker ฝึกหัด (Zero to Maker) ไม่ว่าจะสอนวิชาใด มีพื้นฐานบ้างไม่มีบ้าง แต่ก็ขอให้เริ่มจากความสนใจและหาแรงผลักดันให้ตนเอง ในการสร้างหรือประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยตนเอง จนนำไปสู่การเรียนรู้และปฏิบัติจริงจนประสบความสำเร็จ และแน่นอนนั่นคือประสบการณ์ที่ดีที่สุดที่จะถ่ายทอดไปยังนักเรียนของทุกท่านได้นั่นเอง

         จากประเด็นสำคัญที่เรานำเสนอกันมาตั้งแต่ตอนแรกจนถึงตอนนี้ เรื่องของสะเต็มกับวิชาชีพครู ก็อยากกจะสรุปแนวทางสำคัญที่อยากจะฝากกับคุณครูทุกท่านก็คือ จุดเริ่มต้นที่ดีของแนวทางการจัดเรียนรู้แบบสะเต็มเป็นแนวทางที่ดี แต่อยากให้เริ่มต้นจากการเรียนรู้และปฏิบัติจริงของคุณครูแต่ละท่านเองก่อน ทุกคนต้องเข้าใจและยอมรับในรูปแบบของแนวทางนี้ โดยรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกท่านประสบความสำเร็จอาจมาจากการที่ท่านได้เป็นผู้สร้างและผู้ปฏิบัติได้จนเกิดความสำเร็จได้ด้วยตนเองก่อน แล้วจึงจะสามารถถ่ายทอดให้กับนักเรียนของท่าน เสมือนอิงแนวทางของ maker movement นั่นเอง โดยอาศัย maker space หรือศูนย์สะเต็มศึกษาในโรงเรียนของท่านที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะในทางปฏิบัติแล้ว แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในโรงเรียน ก็เป็น maker culture เล็ก ๆ ที่ทำงานหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานกันโดยมีกลุ่มคุณครูและนักเรียนเป็น maker ที่อยู่รวมกันภายใน makerspace แห่งหนึ่งนั่นเอง

แหล่งที่มา

Maker Movement ความเคลื่อนไหวจากนักลงมือทำที่เปลี่ยนแปลงโลก. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561. จาก
          http://www.tcdc.or.th/articles/design_creativity/22432/#Maker-Movement-ความเคลื่อนไหวจากนักลงมือทำที่เปลี่ยนแปลงโลก

เมกเกอร์สเปซเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561. จาก
          https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/306/เมกเกอร์สเปซเพื่อการศึกษา

ทีละก้าวสู่ความสำเร็จของเมกเกอร์สเปซเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561. จาก
           http://news.npru.ac.th/userfiles/LIBRARY/nm_files/20171022122511_PR arit book 2017.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
maker, เมกเกอร์, Maker Movement, Makerspace, เมกเกอร์สเปซ, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์, อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องมือช่าง, สิ่งประดิษฐ์, สะเต็ม, STEM, maker culture, ศูนย์สะเต็มศึกษา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 16 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
  • 8405 สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 3 : เมกเกอร์สเปซเพื่อการศึกษา /article-stem/item/8405-3
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
กระบวนการทางวิศวกรรมสำคัญกับสะเต็มศึกษาอย่างไร?
กระบวนการทางวิศวกรรมสำคัญกับสะเต็มศึกษาอ...
Hits ฮิต (28569)
ให้คะแนน
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สะเต็มศึกษา ( STEM Education) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างอ ...
จาก STEM สู่ STEAM
จาก STEM สู่ STEAM
Hits ฮิต (43737)
ให้คะแนน
ก่อนหน้านี้เรารู้จักและค่อนข้างเริ่มคุ้นหูคุ้นเคยดีกับคำว่า STEM แต่ไม่ทันไร เราก็ได้ยินคำที่คล้าย ...
สะเต็มกับบัวลอย
สะเต็มกับบัวลอย
Hits ฮิต (23832)
ให้คะแนน
แน่นอนว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า STEM (สะเต็ม) คือแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สาขาวิ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)