logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

โดย :
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
เมื่อ :
วันศุกร์, 22 กุมภาพันธ์ 2562
Hits
29060

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

          ความก้าวหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ทำให้ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบาย  มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น และมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างนวัตกรรมรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ     (Self-Driving Car) รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือในอีกชื่อหนึ่ง เรียกว่ารถยนต์ไร้คนขับ นับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Google, Apple, Uber และ Baidu เข้ามามีบทบาทในการพัฒนา  คุณลักษณะและเทคโนโลยีของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้มีการบูรณการเทคโนโลยี 4 อย่างเข้าด้วยกัน ได้แก่

  1. 1. Computer Vision เป็นเสมือนตาของรถที่ทำให้รถยนต์นั้นรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ โดยเทคโนโลยีที่ใช้ได้แก่ กล้องถ่ายภาพ การใช้คลื่นเสียงเพื่อตรวจจับวัตถุรอบ ๆ ในลักษณะเดียวกับเรดาร์ และการใช้เลเซอร์
  2. 2. Deep Learning เป็นสมองของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดย Deep Learning ทำหน้าที่วิเคราะห์สภาพในท้องถนน เช่น การตรวจจับว่ารถขับตรงเลนหรือไม่ การตรวจจับผู้ใช้ทางเท้า การระบุป้ายจราจรและสัญญาณไฟจราจร ความเหมาะสมในการเร่งเครื่องหรือเบรก เป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานของการตัดสินใจของรถ
  3. 3. Robotic เป็นส่วนที่แปลงจากคำสั่งที่ประมวลผล ให้กลายเป็นคำสั่งที่ใช้กับเครื่องยนต์และส่วนต่าง ๆ ของรถได้จริง
  4. 4. Navigation เป็นเทคโนโลยีการนำทาง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจากข้อมูลแผนที่ การประมวลผล และการตัดสินใจเส้นทางการขับเคลื่อนของรถยนต์

9108 1

ภาพที่ 1 รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

ที่มา http://fortune.com/2017/10/09/lebron-james-self-driving-car

มาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดย National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ของสหรัฐอเมริกาได้ระบุระดับของรถยนต์ไร้คนขับโดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้

Level 0 เป็นรถยนต์ที่มนุษย์ต้องควบคุมทุกอย่างด้วยตัวเอง

Level 1 (Driver Assistance) รถยนต์ที่ยังถูกควบคุมโดยมนุษย์ แต่มีบางฟังก์ชันที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่นการยังคับทิศทาง หรือการเร่งเครื่อง มีกระบวนการทำงานบางอย่างมาช่วยเหลือคนขับ โดยคนขับยังคงมีหน้าที่บังคับทิศทาง ดูสภาพแวดล้อมต่างๆ รอบข้างและตัดสินใจแต่ระบบควบคุมความเร็วทำงานอัตโนมัติและสามารถแนะนำทิศทางและเส้นทางที่เหมาะสมให้คนขับได้

Level 2 (Occasional Self-Driving) การบังคับทิศทางหรือการเร่งเครื่องอย่างใดอย่างหนึ่งถูกทำโดยระบบอัตโนมัติซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องใช้ทั้งแขนและขาพร้อมกัน เช่น ระบบ cruise control ระบบสามารถควบคุมทิศทางและความเร็วได้อย่างอัตโนมัติ แต่คนขับยังมีหน้าที่คอยดูแลอยู่บ้าง เช่น ช่วยดูถนนและสภาพแวดล้อมรอบข้าง

Level 3 (Limited Self-Driving) รถยนต์ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติแต่ต้องมีผู้ขับขี่คอยเฝ้าระวังและแทรกแซงในกรณีที่ฉุกเฉินหรือต้องการความปลอดภัยสูง ในระดับนี้คนขับสามารถละความสนใจจากการควบคุมต่าง ๆ ได้ ระบบสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติทั้งหมด แต่จะยังมีการแจ้งมายังคนขับในบางครั้ง เพื่อขอให้เข้าควบคุมระบบการทำงาน กรณีที่ระบบประเมินแล้วว่าจะไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม ณ ช่วงเวลานั้นได้

Level 4 (Full Self-Driving Under Certain Conditions) รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบเต็มตัว แต่สามารถขับเคลื่อนในสภาวะที่มันถูกออกแบบมาเท่านั้น ระดับนี้เป็นการควบคุมการทำงานของระบบได้อย่างอัตโนมัติทั้งหมด คนขับไม่จำเป็นต้องใส่ใจอะไรอีก แต่มีข้อแม้ว่ารถต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แน่นอน มีการควบคุมในระดับหนึ่ง สามารถคาดการณ์ได้ จึงยังเป็นต้องมีคนขับอยู่เพื่อเข้าควบคุมการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นครั้งคราวได้

Level 5 (Full Self-Driving Under All Conditions) รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติซึ่งมีความสามารถในการขับขี่เทียบเท่ามนุษย์ เป็นระดับที่เป็นยานยนต์อัตโนมัติโดยสมบูรณ์ สามารถทำงานได้เทียบเท่ามนุษย์ ในทุกสถานการณ์และทุกสภาพแวดล้อม สามารถจัดการควบคุมและตัดสินใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ในระดับนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีคนขับอีกต่อไป

โดยรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติใช้พลังงานไฟฟ้าจากข้อมูลในเอกสารที่ IEEE Spectrum ยื่นต่อ FCC (Federal Communications Commission คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐอเมริกาได้แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการติดตั้งระบบชาร์จไร้สาย (Wirelessly Charge) เพื่อใช้ในการชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับรถยนต์ โดยมีการร่วมมือกับ Hevo Power ผู้พัฒนาจุดชาร์จพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สายผ่านท่อน้ำระบายน้ำ โดยเทคโนโลยีของ Hevo Power ใช้การออกแบบอุปกรณ์ที่มีความกลมกลืนไปกับฝาท่อระบายน้ำ เมื่อรถยนต์ขับมาจอดให้ตรงจุดชาร์จพลังงานจากนั้นจะเกิดการเติมพลังงานในแบบเหนี่ยวนำไร้สายขึ้น โดยจะสามารถส่งผ่านพลังงานไปยังรถยนต์ได้ตั้งแต่ 220 โวลต์ ถึง 10 กิโลวัตต์การชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไร้คนขับ อาจพิจารณารูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากการนำเทคโนโลยี Hevo Power มาใช้ เพื่อเป็นทางเลือกในการเติมพลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นในอนาคต

9108 2

ภาพที่ 2 จุดชาร์จพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สายผ่านท่อน้ำระบายน้ำ โดยเทคโนโลยีของ Hevo Power

ที่มา https://www.renewableenergymagazine.com/electric_hybrid_vehicles/despite-disappointing-gm-sales-numbers-the-push-20150511

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจะทำให้ท้องถนนจะมีความปลอดภัยมากขึ้น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่รับรู้และตอบสนองต่อสภาพภายนอกได้อย่างรวดเร็วนั้นย่อมจะช่วยให้การขับขี่มีความปลอดภัยมากขึ้น การจราจรบนท้องถนนและการใช้เชื้อเพลิงจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การลดอุบัติเหตุนอกจากจะลดความสูญเสียแล้วยังเป็นการกำจัดสาเหตุที่รถติดบนท้องถนน ลดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทำให้โลกของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้นและนี่คือประโยชน์ของวิทยาการสมัยใหม่ที่แท้จริง

แหล่งที่มา

บริษัทเทคทอล์กไทย.  (2560, 20 เมษายน).  Self-Driving Car ฉบับเบื้องต้น สืบค้นเมื่อ 2  ตุลาคม 2561. จาก https://www.techtalkthai.com/intro-to-self-driving-car.

Aman Agarwal  (2560, 11 เมษายน).  Everything about Self Driving Cars Explained for Non-Engineers  สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. จาก  https://medium.com/swlh/everything-about-self-driving-cars-explained-for-non-engineers-f73997dcb60c.

  1. C. Sangkeettrakarn. (2560, 13 ตุลาคม). ยานยนต์แห่งอนาคตที่ไร้คนขับ. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561. จาก https://medium.com/nectec/ยานยนต์แห่งอนาคตที่ไร้คนขับ-c24844560690.

Hope Reese  (2559, 20 มกราคม).   Updated: Autonomous driving levels 0 to 5: Understanding the differences.  สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561. จาก https://www.techrepublic.com/article/autonomous-driving-levels-0-to-5-understanding-the-differences.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
รถยนต์,ขับเคลื่อน,อัตโนมัติ, Self,Driving, Car
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9108 รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ /article-technology/item/9108-2018-10-18-08-40-06
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Bluetooth กับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Bluetooth กับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่...
Hits ฮิต (15606)
ให้คะแนน
การจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้น สื่อการสอนถือว่ามีส่วนสำคัญ ...
Smart City คุณภาพชีวิตรอบด้าน
Smart City คุณภาพชีวิตรอบด้าน
Hits ฮิต (13352)
ให้คะแนน
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า สมาร์ตซิตี้ (Smart City) หรือเมืองอัจฉริยะ กันอย่างคุ้นหู แต่คงมีคนไม่มากนัก ...
ภาษาสากลของโลกในอนาคต
ภาษาสากลของโลกในอนาคต
Hits ฮิต (22214)
ให้คะแนน
เชื่อว่าทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบัน ภาษาสากลของโลกคือ ภาษาอังกฤษ หรือ ไม่นานผ่านมานี้ เคยมี ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)